Stem Cell Therapy

โลกเข้าสู่การแพทย์ยุคใหม่

ประวัติการแพทย์ของโลก

ในปี 1981 นักวิทยาศาสตร์ ได้ค้นพบวิธีการเอาสเต็มเซลล์ตัวอ่อน(embryonic stem cell) จากหนูได้  ในช่วงปี 2019 ผมมีโอกาสได้เรียน Certificate course ด้าน stem cell จาก Dr. Sally Cowley, Ph.D หัวหน้าแผนก James Martin Stem Cell Facility Sir William Dunn School of Pathology University of Oxford จึงขอนำเรื่องราวที่ท่านสอนมาแบ่งปันแก่ผู้อ่าน

หลังจากปี 1981  ก็ไม่มีเหตุการณ์ด้านสเต็มเซลล์ออกมาเลย แต่โลกมีความพยายามที่จะทำ Cloning (ผลิตสิ่งมีชีวิตที่เหมือนกันทุกอย่างจากเซลล์ โดยไม่ต้องมีการผสมพันธุ์)

ปี 1962 Dr. John B. Gordon แห่ง Oxford ได้ทำการ Cloning กบได้สำเร็จเป็นคนแรก โดยเอา Nucleous ของไข่กบออกและใส่เซลล์พิเศษของลูกกบลงไปแทน ไข่ที่มีนิวเคลียสจากเซลล์ธรรมดาของลูกกบ สามารถเจริญเติบโตเป็นกบเต็มวัยได้

ต่อมาในปี 2006  Shinya Namayaka แห่งมหาวิทยาลัย Kyoto ได้ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยน Mesenchymal stem cell (adult stem cell) ของหนูให้เป็น Pluripotential Stem Cell (iPSCs) ซึ่งเป็น Embryonic stem cell

ช่วงที่ผมเรียนกับ Dr. Sally ท่านก็สอนการเพาะเลี้ยง Stem Cell การเปลี่ยน(Dedifferentiation) Mesenchymal Stem Cell ให้เป็น induced pluripotential stem cell(iPSCs) แล้วทำการตัดต่อ Genes เพื่อรักษาโรค Alzheimer โดยใช้วิธีของ CRISPR cas-9 (Cluster Regularly Interspaced Short Palindromic Repeats)ที่เขานำมาผลิตวัคซีน Covid-19 ทุกวันนี้ไงครับ

ที่เล่ามาทั้งหมดนี้เพื่อจะให้ผู้อ่านได้เข้าใจ และมองเห็นอนาคตของโลกในการดูแลสุขภาพ และธุรกิจสุขภาพ (health industry) ที่จะเปลี่ยนไปอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

การแพทย์มีมาแต่โบราณตั้งแต่สมัย Babylon , China, India, Greek. Sushruta ชาวอินเดียนำเอาการวินิจฉัยโรคและการพยากรณ์โรคมาใช้ Hypocritic Oath หลักจริยธรรมทางการแพทย์เริ่มมีตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล และยังเป็นหลักจริยธรรมของแพทย์ทั่วโลกในปัจจุบัน

การจัดการปัญหาสุขภาพของโลก เน้นการรักษา(Curative Medicine) มาตลอดหลายพันปี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยา การผ่าตัด การฉายแสง ฯลฯ

ต่อมามียุคกลาง มีการระบาดของโรคต่างๆ คนตายมากมาย การรักษาด้วยยา การผ่าตัด ไม่สามารถทำได้ทั่วถึง กลางศตวรรษที่ 17 จึงเริ่มมีการวางแผนการป้องกันโรค(Preventive Medicine) จนกระทั่งในปี 1798 ได้มีการค้นพบวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อพวกอหิวาต์ ไทฟอยด์ ฯลฯ ยุคแห่ง Preventive Medicine เริ่มจริงจัง ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่สถาบันปาสเตอร์แห่งกรุงปารีส เมื่อ Louis Pasteur ได้ค้นพบว่าจุลชีพเป็นสาเหตุแห่งการติดเชื้อต่างๆ ในคน หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาวัคซีนสมัยใหม่กันมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อป้องกันโรค โดยเอาเชื้อที่เป็นสาเหตุมาทำเป็นวัคซีน

การแพทย์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้คนมีอายุยืนขึ้น แต่ก็เจอปัญหาโรคภัยไข้เจ็บจากการมีอายุยืนเกินไป ที่เราเรียกว่า โรคชรา โรควิถีชีวิต โรคที่ไม่ติดต่อ ฯลฯ จึงมีการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุมากขึ้น Promotive Medicine

สมัยก่อนคนอายุ 60 ปีก็เกษียณ อยู่บ้านเลี้ยงหลาน รอวันตาย เมื่ออายุยืนขึ้นเป็น 70, 80, 90, 100 ปี จะต้องรอวันตายด้วยใจหดหู่ ไร้สมรรถภาพ และ คุณภาพชีวิต ทนทรมานอีก 40-50 ปีก็ใช่ที่ จึงมีการพัฒนาศาสตร์ที่จะทำให้มนุษย์อายุมากเหล่านี้ มีคุณภาพ และ สมรรถภาพชีวิตที่ดี มีความสุขจนหมดอายุขัย ซึ่ง Aesthetic Medicine & Regenerative Medicine เป็นศาสตร์ไม่เพียงแต่ทำให้หนุ่มสาวมีรูปร่างสวยงาม แต่เพื่อคนอายุมากด้วย

ในส่วนของการรักษาโรค การใช้ยา การผ่าตัด ฉายแสง หรือ Targeted Therapy อาจไม่ใช่คำตอบอีกต่อไป

นักวิทยาศาตร์ด้านเซลล์เทคโนโลยี ได้พยายามใช้สเต็มเซลล์ และการตัดต่อพันธุกรรมของเซลล์ของคนมาสร้างเซลล์ใหม่ ยาใหม่ ฯลฯ ฉีดเข้าไปในคน เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันในตัว ฆ่าเชื้อโรค เซลล์มะเร็งในร่างกายของเรา ที่เรียกว่า Immunotherapy.

เมื่อเดือนเมษายน 2019 ผมได้มีโอกาสได้ไปร่วมประชุม 4th International CAR-T Cell Congress ที่ Boston USA และมีโอกาสได้เยี่ยมชมกิจการด้าน CAR-T (Chimeric Antigen Receptor T Cell) Cell Therapy รักษามะเร็งของ สถาบัน DANA-FARBER ของ  Harvard University. ที่โรงพยาบาลของสถาบันนี้ มีคนไข้มะเร็งต่างชาติ(ไม่รวมคนอเมริกัน) ปีละ 3000 คน ค่าใช้จ่ายในการฉีด CAR-T Cell 3 เข็ม US$ 608,000

สถาบันการวิจัย บริษัทยายักษ์ใหญ่ทั่วโลกทุ่มเทเงินมหาศาลในการผลิตยารักษามะเร็งและรักษาโรคอื่นๆด้วย เทคนิคนี้ หวังว่าแพทย์ไทย โดยเฉพาะลูกศิษย์ ABLS น่าจะสนใจด้านนี้บ้างนะครับ

ยา CAR-T Cell ที่  US FDA อนุมัติ เริ่มเดือนตุลาคม 2017 มีอยู่ 2-3 ตัว คือ

ตัวสุดท้ายพึ่งอนุมัติเมื่อ 24 กรกฏาคม 2020  คือ ฺbrexucabtagene autoleucel (Tecartus) รักษามะเร็ง ต่อมน้ำเหลือง Mantle Cell Lypmphoma ช่วง COVID-19 นี้เองครับ

Kymriah (tisagenlecleucel) รักษาโรคเลือดในผู้ใหญ่ DLBCL

Yescarta(axicabtagene cilobeucel) เป็น CAR-T Cell ตัวแรกที่ US FDA อนุมัติให้ใช้รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองหลายชนิด

จะมี CAR-T Cell อีกมากมายออกมารักษามะเร็งต่างๆ แต่ราคาจะแพงมาก คนจนไม่สามารถเข้าถึงได้ ผมจึงตั้ง RAL-CELLAB เพื่อร่วมมือกับครูบาอาจารย์ชาวต่างชาติที่สอนผมมา เพื่อวิจัยพัฒนา CAR-T Cell ตามวิธีคนไม่มีเงิน ช่วงที่ผมไปดูงาน CAR-T Cell ที่ Boston มีบริษัทจัดทำ CAR-T Cell Lab เสนอจะทำ Turn-key lab ให้ในราคาเริ่มต้น US $ 100 ทั้งชีวิตคงหาเงินมาทำ Lab ไม่ได้แน่ แต่เมื่อมาเรียนกับ Dr. Sally พบว่า ความคิดของผมเป็นไปได้ และรอนักเรียน ABLS มาเป็นผู้ช่วยอยู่ครับ

การข้อมูลเพิ่มเติม นัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

Loading...
stem cell 2
John B
CAR-T Cell Therapy
How CAR-T Works
20190415_103411
DANA-Faber Cancer Institute :Boston
20190416_090821
4th International CAR-T Congress Boston